7/02/2553

ประวัติ ยานยนต์ไทย รถยนต์ ความเป็นมา ที่มาที่ไป

บทความนี้เพิ่งไปเจอมาเลยเอามาฝากให้ได้อ่านแต่มันไม่ได้เกี่ยวกับคอมเลยสักนิอิอิ
ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลก ใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้า นเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไ ปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากค วามทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไ ทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไป สิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรก ที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนตร์มาวิ่งท่า มกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย


การกำเนิดรถยนต์ในประเทศไทยและการที่พระราชวงศ์ไทยสน พระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นแทบ จะเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงเปลี่ยนศตวรรษเมื่อเริ่มมี การผลิตรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ รถยนต์คันแรกขึ้นบกที่ท่าเรืออู่บางกอก และมีการขับไปตามท้องถนนท่ามกลางสายตาของประชาชนที่เ ฝ้ามองอย่างพิศวง รถยนต์สมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรถยี่ห้อใด คันเกียร์และคันห้ามล้อ ติดตั้งอยู่นอกตัวถ้งด้านขวามือของผู้ขับ รถยนต์อันเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อใดยังเป็นข้อถกเถียงไม่ส ิ้นสุด แต่เชื่อกันว่าเป็นชาวต่างชาติเป็นผู้สั่งเข้ามาเป็น คนแรก รถคันนี้มีลักษณะคล้ายกับรถบดถนนในปัจจุบัน มีล้อเป็นยางตัน หลังคาคล้ายปะรำ ที่นั่ง 2 แถว ใช้น้ำมันปิโตเลียมเป็นเชื้อเพลิงและรถมีกำลังเพียงว ิ่งตามพื้นราบ ไต่ขึ้นเนินสะพานไม่ได้ การใช้งานของรถคันแรกจึงมีขีดจำกัดเพราะท้องถนนเมือง บางกอกเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองสูง เพื่อให้เรือลอดผ่านได้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของรถยนต์ ยุคนั้นรถยนต์คันแรกสามารถปลุกเร้าความสนใจของคนไทยและคนต่า งชาติได้เป็นอย่างดี ต่อมาไม่นานเจ้าของรถคันดังกล่าวก็ขายต่อให้จอมพลเจ้ าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ถือเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ท่านจอมพลฯ ซื้อรถยนต์มาทั้งที่ขับไม่เป็นจึงต้องให้ท่านพระยาอน ุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต) น้องชายเป็นผู้ขับแทน เชื่อกันว่าพระยาอนุทูตวาทีเป็นคนไทยคนแรกที่ขับรถยน ต์ได้ เนื่องจากเคยทำงานที่ประเทศอังกฤษจึงมีโอกาสได้ขับรถ ยนต์ ต่อมาก็สอนคนอื่นเรียนรู้การขับรถยนต์อย่างแพร่หลาย หลังการซื้อรถมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้มีโอกาสขั บโลดแล่นไปตามท้องถนนเมืองบางกอกอยู่หลายปีก่อนที่รถ คันแรกจะเสื่อมสูญไปตามกาล ยุคนั้นผู้ที่สั่งรถเข้ามาจะเป็นพระราชวงศ์เป็นส่วนใ หญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้ นครองราชย์เมื่อปี 2411 พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติ ยานยนต์ของไทย ปี 2447 มีรถยนต์ 3 คันเข้ามาวิ่งในถนนบางกอก แต่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นรถยนต์ยี่ห้ ออะไรและใครเป็นเจ้าของ


ปีนั้นเองรัฐบาลเห็นความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีใหม่ไม่ น้อย โดยได้สั่งซื้อรถแวนแล่นได้เร็วถึง 10 ไมล์ต่อชั่วโมงเพื่อใช้ในการขนส่งทองแท่งเงินแท่งและ เหรียญกษาปณ์หนักหนึ่งตัน ในพ.ศ. เดียวกันนั้น ขณะที่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงปร ะชวรและเสด็จรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ได้ทรงซื้อรถยนต์เดมเลอร์-เบนซ์หนึ่งคันซึ่งถือว่าเป็นรถที่ดีที่สุดในยุคนั้น เมื่อทรงเสด็จกลับแผ่นดินสยาม พระองค์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายรถคันดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว นับเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทย และผู้ที่ทำหน้าที่สารถีก็คือกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ ิ์นั่นเอง รถยนต์หลวงคันที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเมอเซเดส-เบ็นซ์ ปี 2448 ได้รับพระราชทานนามว่า "แก้วจักรพรรดิ์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานรถ ยนต์พระที่นั่งมากเพราะมีความสะดวกสบายและเดินทางได้ เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจจะเสด็จไปที่ต่างๆ ด้วยรถยนต์พระที่นั่งคันดังกล่าวเสมอ ต่อมาทรงเล็งเห็นว่ารถคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งาน ตามพระราชประสงค์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีก หนึ่งคัน เสด็จในกรมฯกรมหลวงราชบุรีฯ เป็นผู้แทนพระองค์ในการสั่งซื้อและทรงเลือกรถเมอร์เซ เดส-เบนซ์ ซึ่งเป็นรถนำเข้าโดยตรงจากประเทศเยอรมนี รุ่นปี 2448 เครื่องยนต์สี่ลูกสูบขนาด 28 แรงม้า วิ่งเร็ว 73 กม.ต่อชั่วโมง นับว่าเร็วมากในยุคนั้นรถพระที่นั่งคันนั้นเกือบเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เมื่อม าถึงคณะกรรมการตรวจรับช่วยกันเติมน้ำมันเบนซินใส่ถัง โดยไม่มีใครสังเกตเห็นละอองน้ำมันลอยฟุ้งไปถึงตะเกีย งรั้วซึ่งแขกยามแขวนไว้ในโรงม้าที่อยู่ใกล้ ๆ กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อน้ำมันเบนซินในปี๊บลุกเป็นไฟอย่า งฉับพลัน ต้องช่วยกันใช้ฟ่อนหญ้าสำหรับม้ากินฟาดดับไฟ แขกโรงม้าต้องวิ่งไปเอาถังน้ำมาช่วยดับอีกแรง ทุกคนต้องอกสั่นขวัญแขวนเมื่อตรวจพบว่าเปลวไฟลวกสีรถ เกรียมไปแถบหนึ่ง บานประตูใช้ไม่ได้อีกข้างหนึ่ง ผู้รับผิดชอบที่นำข่าวร้ายไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็ จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลว งราชบุรีฯ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สวนอัมพร ทรงนิ่งอึ้งชั่วครู่ ก่อนที่รับสั่งให้ซ่อมแซมความเสียหาย 2-3 สัปดาห์ต่อมารถซ่อมเสร็จ คณะกรรมการจึงนำรถมาถวายให้ทอดพระเนตรพระองค์ขึ้นประ ทับและทรงลองขับดูชั่วครู่ทรงรู้สึกว่าต้องพระราชหฤท ัย ความนิยมในการใช้รถยนต์แพร่หลายในหมู่พระราชวงศ์และค หบดีในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่า สมควรจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง ดังนั้นปลายฤดูฝน วันที่ 7 ตุลาคม ปี 2448 จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการชุมนุมพบปะกันของรถยนต์ ครั้งแรกในเมืองบางกอก


ปรากฏว่ามอเตอร์โชว์ครั้งแรกของสยามมีรถยนต์ไปชุมนุม ในบริเวณพระบรมมหาราชวังทั้งสิ้น 30 คัน พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าของรถทุกคน ครั้นเวลาบ่ายสี่โมงเย็นจึงเคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสาม เสนและเลี้ยวเข้าสู่สวนดุสิตสองข้างทางมีผู้คนยืนเรี ยงรายชมขบวนด้วยความตื่นตาตื่นใจ ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี 2451 ทรงสั่งรถยนต์เข้ามาเป็นของขวัญพระราชทานให้พระบรมวง ศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นสูงเพื่อใช้ในราชการแผ่นดิน ทรงสั่งรถยนต์จำนวน 10 คันจากฝรั่งเศสเช่นเคยและทรงพระราชทานนามแก่รถยนต์แต ่ละคันเช่นเดียวกับพระราชทานนามแก่รถยนต์แต่ละคันเช่ นเดียวกับพระราชทานนามช้างเผือก เพื่อแสดงถึงฐานะและความมั่งคั่ง เวลาข้าราชบริพารพูดถึงรถจึงไม่เรียกชื่อรุ่นหรือยี่ ห้อ แต่จะเรียกชื่อพระราชทานเป็นเรื่องสับสนสำหรับชาวต่า งชาติที่ไม่รู้ภาษาไทยว่าหมายถึงรถคันไหน ตัวอย่างนามพระราชทานเช่น แก้วจักรพรรดิ, มณีรัตนา, ทัดมารุต, ไอยราพต, กังหัน, ราชอนุยันต์, สละสลวย, กระสวยทอง, ลำพองทัพ, พรายพยนต์, กลกำบังและสุวรรณมุขี เป็นต้น




++400 กว่าคันทั่วประเทศครั้งแรกของกฎหมายรถยนต์++


เมื่อมีการใช้รถอย่างแพร่หลาย ถนนเมืองบางกอกเริ่มมีการประลองความเร็วกันจนฝุ่นตลบ สร้างความเดือดร้อนให้คนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมากอุบ ัติเหตุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อุบัติเหตุถึงชีวิตเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 2448 แต่ก็ไม่ทำให้ความนิยมในการใช้รถถดถอยลง หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ในสมัยนั้นจึงมีข่าวอุบัติเหต ุรถยนต์ชนกับรางไฟฟ้าพาดหัวไม้ให้อ่านแทบทุกวัน โดยคู่กรณีมีทั้งสองล้อ สามล้อและสี่ล้อ แม้กระทั่งรถยนต์ประสานงากับรถม้าหรือคนเดินเท้าจึงเ ป็นที่มาของกฎหมายจราจรในเวลาต่อมา จำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนโกงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากมีการขโมยรถแล้วเจ้าของรถบางคนก็ใช้เล่ห์เลี่ย มขายรถแล้วกล่าวหาว่าคนซื้อเป็นขโมย ต้องเดือนร้อนขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตรา พระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรกของไทยขึ้นเมื่อปี 2452 ให้มีผลบังคับใช้ในปีถัดมา พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถจดทะเบียนกับกระทรวงม หาดไทย และเสียค่าธรรมเนียมคันละ 10 บาท รถยนต์นั่งและรถบรรทุกในพระราชอาณาจักรที่มีการจดทะเ บียนในเวลานั่นมีจำนวนดังนี้ เมืองบางกอกและจังหวัดใกล้เคียงมี 401 คัน นครสวรรค์ 1 คัน นครศรีธรรมราช 2 คัน ภูเก็ต 2 คันและภาคเหนือ 6 คัน รถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองบางกอกเ ป็นอย่างมาก ถนนที่เคยจอแจด้วยรถลากและรถม้าก็มีรถยนต์วิ่งไปมาทั ้งวัน ในเวลาต่อมาถนนหลายสายก็ผุดขึ้น ป้อมปราการหลายแห่งเริ่มหายไป ประตูเมืองบางที่ถูกทุบเพื่อนำอิฐและเศษปูนมาปูเป็นถ นน


++กำเนิดธุรกิจรถยนต์รถอิมพอร์ตเฟื่องฟู++


เมื่อมีผู้นิยมใช้รถมากขึ้น ร้านรวงในย่านการค้าเมืองหลวงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสัป ดาห์จะมีการขึ้นป้ายประกาศเปิดกิจการของตัวแทนจำหน่า ยรถยนต์รายใหม่ ส่วนใหญ่เจ้าของร้านมักจะเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาหาก ินในเมืองไทย ซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันรถยี่ห้อใ หม่ ๆ หลั่งไหลเข้ามาสนองความต้องการของลูกค้าผู้กระหาย -จี.อาร์.อองเดร.ตั้งอยู่สี่กั๊กพระยาศรี ตัวแทนจำหน่ายของอดัม โอเพล แห่งรัสเซลส์ไฮม์ -บางกอก ทรัสต์ ลิมิเทด ตั้งอยู่ยานนาวา ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งของอาร์ม สตรอง ซิดลีด์,ไซเลนท์ ไนท์ และฟอร์ด และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุก รถโดยสารของสตาร์ สโตร์ บริษัทนี้มีอู่ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรองรับรถ ได้ถึง 20 คัน
-กองตัวร์ ฟรองซัว ดือ เซียม ตั้งอยู่ถนนสี่พระยา จำหน่ายรถฝรั่งเศสหลายยี่ห้อ
-จอห์น เอ็ม. ดันลอป ตัวแทนจำหน่ายรถของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ของสหรัฐอเมริกา
-เอส.เอ.บี. ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง จำหน่าย รถแบลริโอต์ และมีอู่ซ่อมรถหลายยี่ห้อ
-สยาม อิมพอร์ท คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถนาปิแอร์
-ส่วนรถเปอร์โยต์มีผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวคือ สยาม ฟอเรสต์ ทรัสต์ ลิมิเทด
-วินด์เซอร์ คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถกาเกเนา มีอู่ซ่อมขนาดใหญ่เช่นกัน
ความนิยมการใช้รถทำให้เกิดธุรกิจมือสองตามมา ในปี 2450 โดยพระพิศาลสุขุมวิท โชคดีจับสลากชิงรางวัลรถยนต์ของชาวต่างชาติผู้หนึ่งเ สมือนเป็นการขายทอดตลาดรถมือสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น